ยินดีต้อนรับ สู่บล็อกของ นายวรมิตร สุภาพ เอกการศึกษาปฐมวัย วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ ครับ

วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินสัปดาห์ที่ 15

บันทึกอนุทินครั้งที่  15
วันที่  25  พฤศจิกายน  2557
 เวลาเรียน  13: 10 - 16 : 40 น.


ความรู้ที่ได้รับในวันนี้



โทรทัศน์ครู




ความรู้ที่ได้รับจากการชมโทรทัศครู  เรื่อง
ผลิบาน  ผ่านมือครู  ตอน  ห้องเรียนแรกของเด็กพิเศษ
             เด็กทุกคนควรได้รับการเตรียมความพร้อมอย่างรอบด้าน  ก่อนก้าวเข้าสู่ชั้นเรียน  เด็กทุกคนนั้นหมายรวมถึงเด็กพิเศษ  และเด็กพิการทุกประเภท  และทุกระดับความรุนแรง  กลุ่มงานบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กพิการและครอบครัว  ศูนย์การศึกษาพิเศษ  โรงเรียนสาธิตละอองอุทิศ  เป็นตัวอย่างการทำงานช่วยเหลือเด็กพิการทุกประเภท  ที่เน้นการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม  ผ่านการทำงานร่วมกับครอบครัวอย่างใกล้ชิด 
ขอบข่ายของงาน  EI  เป็นการช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษในระยะแรกเริ่ม  ก็จะมีอยู่ในส่วนของ  ขั้นตอน
1.     การส่งต่อจากครอบครัวหรือผู้เชี่ยวชาญ
2.     ประเมินพัฒนาการตามช่วงวัย
3.     การจัดแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล  หรือ  เฉพาะครอบครัว
4.     การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะอย่างรอบด้าน
5.     การประเมินผล

การสอนทักษะพื้นฐานในกิจวัตรประจำวัน
        ส่วนในกลุ่มนี้ก็อยู่ในการเน้นการช่วยเหลือตนเองในกิจกวัตรประจำวันสำคัญมาก  การกิน  การเคี้ยว  การกลืนลงไป  เด็กทำได้ไหม  แต่ถ้าโตมาอีกหน่อย  ขวบ  อาจจับช้อนได้บ้างแล้ว  กิจได้จนจบ  กระบวนการยก  เก็บได้บ้าง  ตรงส่วนหนึ่งอยู่บนพื้นฐานของการคิด   ถ้าเมื่อไรไม่คิด  ถ้าผู้ใหญ่คิดให้ก็หมดโอกาสคิด  แต่ถ้าเขามีเบี่ยงเบนไปจากปกติเราก็ต้องค่อยๆสอนเข้าสู่ภาวะปกติ  กว่าจะย้อนกลับมาสู่กิจวัตรประจำวันปกติ  เขาต้องใช้เวลาพื้นอีกหน่อยหนึ่ง  และต้องความอดทนอย่างเลย

        การออกแบบกิจกรรมเพื่อกระตุ้นพัฒนาการอย่างรอบด้าน
          กิจกรรมพัฒนาการเคลื่อนไหว  การทรงตัว  ภาษา
          กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่  กล้ามเนื้อมัดเล็ก  และ  สมาธิ
          กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก  การรับรู้สัมผัส
          กิจกรรมพัฒนาทักษะการมอง  ทำตามคำสั่ง  และการสื่อสาร
          กิจกรรมพัฒนาทักษะการมอง  ทำตามคำสั่ง  และพื้นฐานวิชาการ
          กิจกรรมพัฒนาทักษะการฟัง  การทรงตัง  การสัมผัส

สรุป

        เด็กพิการทุกประเภทมีสิทธิ์ในการเข้าชั้นเรียนร่วม  แต่ในขณะเดียวกันจำเป็นอย่างยิ่ง  ต้องได้รับฝึกทักษะพื้นฐานที่สำคัญ  ในการดูแลตนเอง  และมีทักษะการเรียนรู้ในระดับหนึ่ง  การเตรียมความพร้อมด้วยการร่วมแรงร่วมใจของบ้าน  และโรงเรียน  มุ่งพัฒนาศักยภาพของเขาตามคำชี้แนะของคุณครูจะทำให้ผู้เรียนสามารถก้าวเดินต่อไปอย่างมั่นคง
ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน
         1. ผู้สอนใช้เทคนิคการจัดโต๊ะเป็นตัว  U  ในการสอนในชั้นเรียนเพื่อให้เห็นเด็กนักศึกษาครบทุกคน
         2. ผู้สอนเล่นประสบการณ์ประกอบการบรรยายเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจในการเรียนมากขึ้น
         3. ผู้สอนมีการซักถามนักศึกษาในระหว่างการเรียนการสอน
         4. ผู้สอนมีการแสดงบทบาทในระหว่างการบรรยาย  เพื่อให้เด็กนักศึกษาเข้าใจถึงพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้นมากขึ้น

การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสอน
         1.โปรแจคเตอร์
         2.ไมโคโฟน
         3.คอมพิวเตอร์  PC
         4.PowerPoint  (เด็กสมาธิสั้น  ADHD)
         5.VDO  (ผลิบาน  ผ่านมือครู  ตอน  ห้องเรียนแรกของเด็กพิเศษ)

การประเมินในชั้นเรียน

       ประเมินตัวเอง
                  วันนี้ตั้งใจเรียนมาก  เรียนสนุกสุดๆ   ฟังอาจารย์บรรยายจนจบ  และวันนี้อาจมีคุยกับเพื่อนบ้างนิดหน่อยแค่หันหลังไปคุยนิดเดียว  วันนี้ตั้งใจฟังอาจารย์บรรยายและดูวีดีโอเพราะข้อมูลในวีดีโอ  มีประโยชน์มาก  วันนี้สนุกสุดๆๆครับ

       ประเมินเพื่อน
               วันนี้เพื่อนก็มีคุยกันบ้างเล็กน้อย  แต่ไม่ดังมาก  และก็มีซุบซิบๆกันบ้างนิดหน่อยแต่ก็ไม่มาก  ไม่ถึงกับการรบเพื่อนจนเกินไป  วันนี้เพื่อนตั้งใจจดและตั้งใจฟังอาจารย์บรรยายและให้ความรู้เพิ่มเติมเป็นอย่างดี  เพื่อนให้ความร่วมมือในการตอบอาจารย์ทุกครั้ง

       ประเมินอาจารย์
              วันนี้อาจารย์จัดโต๊ะเป็นตัว  ผมว่ามีความสุขดีเพราะอาจารย์จะได้เห็นนักศึกษาทั้งหมดทุกคน  ชอบเวลาอาจารย์จัดโต๊ะเรียนเป็นตัว  อาจารย์ได้เดินไปทุกโต๊ะได้  และอาจารย์อยู่ตรงกลาง  ทำให้รัศมีในการมองอยู่ที่อาจารย์จึงทำให้นักศึกษาตั้งใจฟัง  ผมชอบการจัดโต๊ะเรียนวันนี้มากเลยครับ


บันทึกอนุทินสัปดาห์ที่ 14

บันทึกอนุทินครั้งที่  14
วันที่  18  พฤศจิกายน  2557
 เวลาเรียน  13: 10 - 16 : 40 น.


หมายเหตุ :  กลับต่างจังหวัดเนื่องจาก  ลุงของผมเสียชีวิต


วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินสัปดาห์ที่ 13

บันทึกอนุทินครั้งที่  13
วันที่ 11  พฤศจิกายน  2557
 เวลาเรียน  13: 10 - 16 : 40 น.

ความรู้ที่ได้รับ             
                                             


ความรู้ที่ได้รับจากการชมวีดีโอ  โครงการอาชาบำบัดเพื่อเด็กออทิสติก


โครงการอาชาบำบัดเพื่อเด็กออทิสติก
กองพันลาดตระเวน  หน่วยบัญชาการทหารนาวิกโยธิน  กองทับเรือ

โครงการอาชาบำบัดเพื่อเด็กออทิสติก  อาชาบำบัดก็คือนำม้ามาช่วยบำบัดเด็กพิเศษ  เด็กพิเศษจริงๆมีอยู่หลายประเภท  โดยโครงการนี้ทำเพื่อเด็กออทิสติกโดยเฉพะ  การนำม้ามาบำบัดเด็กเหล่านี้จะช่วยพัฒนาเรื่องของกล้ามเนื้อร่างกาย  การเคลื่อนไหว  พัฒนาทางด้านจิตใจ  และอารมณ์ของเด็กด้วย  และก็ทำให้สามารถอยู่ในสังคมได้ดีขึ้น
          เด็กๆที่กำลังใจจดจ่อการทรงตัวอยู่บนหลังม้าคอยปฏิบัติตามคำสั่งของครูฝึก  ให้รู้จักการบังคับม้าอย่างง่ายๆ  และแสดงความรักความผูกพันกับม้า  เป็นภาพที่ผู้ปกครองเห็นแล้วก็มีความสุข  เพราะเด็กเหล่านี้เป็นเด็กออทิสติก  ที่โดยปกติแล้วจะไม่สามารถควบคุมสภาวะทางอารมณ์  และมีสมาธิจดจ่ออยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้เช่นนี้ 
ชมรมภริยานาวิกโยธิน  ริเริ่มแนวคิดโครงการอาชาบำบัดเพื่อเด็กออทิสติกขึ้นเมื่อปี  2553  ภายในกองพันลาดตระเวน  หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน  กองทับเรือ  โดย  นาวาโทเริงราช  อุทธิเสน  และนาวาตรีหญิงสุทธิญา  อุทธิเสน  เป็นผู้รับผิดชอบโครงการอย่างเข้มแข็ง  จากหัวอกของคนเป็นพ่อและแม่ของลูกสาวที่เป็นเด็กออทิสติกด้วย

                   ขั้นตอนอาชาบำบัด
          ขั้นตอนขั้นแรกก็คือการรู้จักม้า  ไปสัมผัสม้า  เพราะว่าเด็กหลายคนไม่สามารถขึ้นม้าได้  แค่เขาจับขนม้าเขาก็ขนลุกแล้ว  เขาก็กลัวแล้ว
          ขั้นต่อไปก็คือการเอามาเอ็กเซอร์ไซร์ก่อน  ก่อนที่จะขึ้นม้า  ต่อไปก็เป็นการจูงม้า  พอจูงม้าเสร็จก็ขึ้นหลังม้า  หลังจากนั้นก็ทำตามคำสั่งของครู
          สำหรับเด็กออทิสติกมีความจำเป็นอย่างยิ่งเลย  ต้องเข้าใจเขา  อย่าไปดุ  อย่าไปว่าเขา  ต้องใช้การนุ่มนวนในการเลี้ยงลูก

          การบำบัดด้วยม้าไม่ได้ทำให้หายจากเป็นออทิสติก  แต่เป็นการช่วยปรับสภาพร่างกายที่ผิดปกติ  ให้สมดุล  ลดความก้าวร้าว  และมีความเชื่อมั่นในตนเอง  มีพัฒนาการทั้งร่างกายและจิตใจดีขึ้น  เพื่อให้ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้  ซึ่งไม่เพียงแต่จะสร้างความสุขให้แก่ครอบครัวที่มีบุตรหลานเป็นเด็กออทิสติกเท่านั้น  แต่บันดาทหารนาวิกโยธินที่ผ่านการอบรมอย่างเข้มข้นเพื่อร่วมเป็นครูฝึกในโครงการนี้  ยังภูมิใจในการปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือสังคมอีกด้วย

ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน
         1.ผู้สอนใช้เทคนิคในการปราบให้นักศึกษาฟังอาจารย์  โดยเมื่อมีคนพูดต้องมีคนฟัง  เมื่อนักศึกษาพูดกันอาจารย์ก็จะทำการหยุดบรรยายให้ความรู้  เมื่อนักศึกษาเงียบตั้งใจฟังอาจารย์บรรยาย  อาจารย์ก็จะให้ความรู้ต่อไป
          2.ผู้สอนให้ความรู้เพิ่มเติมจากเนื้อหา  โดยให้ความรู้เพิ่มเติมจากประสบการณ์จริงของผู้สอน

การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสอน
         1.โปรแจคเตอร์
         2.ไมโคโฟน
         3.คอมพิวเตอร์  PC
         4.Microsoft  Powerpoint  (การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ)

การประเมินในชั้นเรียน

       ประเมินตัวเอง
                  วันนี้เรียนการส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ  ตั้งใจเรียนตั้งใจจดการให้ความรู้เพิ่มเติมของอาจารย์เป็นอย่างดี  และชมวีดีโออาชาบำบัดเพื่อการพัฒนาเด็กออทิสติก  เป็นวีดีโอที่ผมเคยดูแล้ว  ผมดูจากข่าวช่อง ถือว่าเป็นโครงการที่ดีมากโครงการหนึ่งที่ช่วยพัฒนาให้เด็กออทิสติกให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างคนปกติ

       ประเมินเพื่อน
               วันนี้เพื่อนฟังอาจารย์บรรยายในการสอนเป็นอย่างดี  ก็มีเพื่อนอยู่ส่วนน้อยที่นอนในห้องเรียน  แต่เห็นเพื่อนตั้งใจดูวีดีโอ  โครงการอาชาบำบัดเพื่อเด็กออทิสติกเป็นอย่างมาก  แต่ก็มีเพื่อนคุยกัน  และเล่นแต่โทรศัพท์ไม่ตั้งใจฟังอาจารย์ในเวลาที่อาจารย์ให้ความรู้  ถือว่าเป็นนิสัยที่ไม่ดีไม่ควรทำเป็นเยี่ยงอย่างครับ

       ประเมินอาจารย์
              วันนี้อาจารย์สอนสนุกมาก  มีความสุขสุดๆ  และยังได้หัวเราะด้วย  วันนี้อาจารย์ถ่ายทอดความรู้และให้ความรู้นอกเหนือจากบทเรียนโดยถ่ายทอดจากประสบการณ์จริง  เป็นความรู้อันล้ำค่า  และผมชอบวีดีโอ  โครงการอาชาบำบัดเพื่อเด็กออทิสติก  ที่อาจารย์เอามาให้ชมนั้นก็ยังได้รับความรู้เพิ่มเติมอีก  ว่าวิธีการบำบัดด้วยม้านั้นเขาใช้วิธีอย่างไร  เป็นโครงการที่ดีมากเลยที่เดียว  ชอบมากเลยครับ


บันทึกอนุทินสัปดาห์ที่ 12

บันทึกอนุทินครั้งที่  12
วันที่  4  พฤศจิกายน  2557
 เวลาเรียน  13: 10 - 16 : 40 น.


ความรู้ที่ได้รับ

              วันนี้อาจารย์บอกคะแนนสอบกลางภาค  และอาจารย์ให้นักศึกษาตรวจข้อสอบพร้อมอาจารย์เฉลยในคาบเรียน  การเฉลยข้อสอบในคาบก็เหมือนการสรุปองค์ความรู้ที่เรียนมาแล้วให้เข้าใจมากขึ้น เพราะการเฉลยข้อสอบในครั้งนี้จะได้ทำความเข้าเกี่ยวกับข้อที่ทำผิดว่าผิดเพราะอะไร  ส่วนวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาตรวจข้อสอบของตนเอง  ข้อสอบกลางภาค  60  ข้อ  ผมได้คะแนน  45  ข้อ  ผมทำผิด  15  ข้อ   ข้อสอบของอาจารย์เป็นข้อสอบที่ไม่ยากเกินไป  และไม่ง่ายเกินไป  เป็นข้อสอบที่อยู่ในเกณฑ์ดีมาก  เป็นข้อสอบที่สนุก  มีความสุขในการทำข้อสอบมากเลยทีเดียว  ส่วนข้อผิดพลาดของผมก็คือ  อาจจะสับสนไปหน่อยเกี่ยวกับตัวย่อหรือคำศัพท์ที่เป็นภาษาอังกฤษ  ผมอ่านหนังสือและสรุปทำความเข้าใจก่อนสอบมากเลยทีเดียว  พอเข้าไปนั่งข้อสอบทำให้ลืมเป็นบางข้อที่ง่าย  แต่ข้อที่ยากผมกลับเดาถูก  ส่วนข้อที่ผิดที่ยกมาเป็นตัวอย่างก็คือ  ข้อที่ถามเกี่ยวกับสายตาเด็กไม่ปกติกับเด็กสายตาปกติ  ว่าข้อใดกล่าวถูกต้อง ผมก็ไปตอบว่าเด็กผิดปกติสามารถมองเห็นได้  60  องศา  เด็กปกติสามารถมองเห็นได้  6  เมตร  คำตอบน่าจะประมาณนี้น่ะครับ  ส่วนเด็กฉลาด  กับเด็ก  Gifted  ก็ผิด  ส่วน  Alexia  เป็นอะไรที่ไม่น่าตอบผิดเลย  ข้อนี้ทำให้ผมตัดสินใจนานมากที่สุด  มีอยู่  2  คำตอบที่ผมคิดมากคือ  อ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้  ในที่สุดข้อนี้ก็ตอบผิด

 ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน
         วันนี้อาจารย์เฉลยข้อสอบ  และให้นักศึกษาตรวจข้อสอบข้อที่บกพร่องและข้อที่พลาดของนักศึกษา

การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสอน
         1.โปรแจคเตอร์
         2.ไมโคโฟน
         3.คอมพิวเตอร์  PC
         4.Microsoft  Word  (ข้อสอบกลางภาคเรียน  ภาคเรียนที่  1/2557)

การประเมินในชั้นเรียน

       ประเมินตัวเอง
                  วันนี้ตั้งใจตรวจข้อสอบของตนเองมาก  และดูข้อบกพร่องและข้อผิดพลาดของตนเองว่าที่ตนเองตอบผิดเพราะอะไร  ส่วนการเฉลยข้อสอบในวันนี้มีความสุขมากๆ  และยังได้รับองค์ความรู้เกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

       ประเมินเพื่อน
               วันนี้เพื่อนสนุกสนานมากในการเฉลยข้อสอบของอาจารย์  มีความสุขกันถ้วนหน้า  เฮฮาปาตี้กันเลยทีเดียว  และยังได้รับความรู้พร้อมกับการเฉลยข้อสอบของอาจารย์  ส่วนเพื่อนที่ได้ข้อสอบได้มากที่สุด  ในการสอบกลางภาคเรียนนี้  นางสาวดวงกมล  คันตะลี  ด้วย  57  ข้อ  ผิด  3  ข้อ  แสดงความยินดีด้วยครับ

       ประเมินอาจารย์

              วันนี้อาจารย์เฉลยข้อสอบสนุกมาก  เป็นการเฉลยข้อสอบที่ได้รับความรู้ด้วย  ส่วนข้อสอบกลางภาคในครั้งนี้เป็นข้อสอบที่ไม่ยากจนเกินไป  ไม่ง่ายจนเกินไป  เป็นข้อสอบที่อยู่ในเกณฑ์ดีมาก  และการสอบในครั้งนี้ทำให้เพื่อนมีความสุขในการสอบมากเลยครับ  อาจารย์ออกข้อสอบได้ดีมากเลยครับ  เป็นข้อสอบที่ออกจากการเรียนทุกครั้งทุกสัปดาห์


วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินสัปดาห์ที่ 11

บันทึกอนุทินครั้งที่  11
วันที่ 28  ตุลาคม  2557
 เวลาเรียน  13: 10 - 16 : 40 น.


หมายเหตุ  :  วันนี้สอบนอกตาราง

CHILD CARE OF EARLY CHILDHOOD WITH SPECIAL NEED
การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ  EAED 2209


วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินสัปดาห์ที่ 10

บันทึกอนุทินครั้งที่  10
วันที่ 21  ตุลาคม  2557
 เวลาเรียน  13: 10 - 16 : 40 น.

ความรู้ที่ได้รับ
ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน
         1.ผู้สอนนำคลิปวีดีโอที่เกี่ยวข้องกับการบรรยายในชั้นเรียนมาให้นักศึกษาชมเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น
         2.ผู้สอนใช้  Power  Point  ในการบรรยายและอธิบายในการสอน
         3.ผู้สอนนำประสบการณ์จริงมาเล่าประกอบการบรรยายและอธิบายให้นักศึกษาฟัง
         4.ผู้สอนมีข้อตกลงกับนักศึกษาในการสอนทุกๆครั้ง  เมื่อนักศึกษาพูดอาจารย์ก็จะหยุดการบรรยายในชั้นเรียนเพื่อให้นักเรียนตั้งใจฟังอาจารย์บรรยายทุกๆครั้ง
         5.ผู้สอนชี้แจงการสรุปงานวิจัยส่งอาจารย์  ในแต่ละหัวข้อของนักศึกษาโดยไม่ซ้ำกัน
                5.1.ชื่อผลงาน  "วิจัย"
                5.2.ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย
                5.3.วัตถุประสงค์ของการวิจัย
                5.4.ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
                5.5.นิยามศัพท์เฉพาะ
                5.6.ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
                5.7.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
                5.8.การดำเนินการวิจัย
                5.9.สรุปผลการวิจัย
                5.10.ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่องานวิจัยชิ้นนี้
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสอน
         1.โปรแจคเตอร์
         2.ไมโคโฟน
         3.คอมพิวเตอร์  PC
         4.Power  Point  (เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์-เด็กพิการซ้อน)
         5.วีดีโอ
               5.1. VDO  กิจกรรมบำบัดในเด็กสมาธิสั้น
               5.2. VDO  ศูนย์การศึกษาพิเศษ  มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

การประเมินในชั้นเรียน

       ประเมินตัวเอง
                  วันนี้ตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี  ฟังอาจารย์ตลอด  ไม่นอนหลับในเวลาเรียน  ได้ดูวีดีโอประกอบการสอน  ไม่พูดเวลาอาจารย์บรรยาย

       ประเมินเพื่อน

               วันนี้เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์เป็นอย่างดี  เพราะมีข้อตกลงร่วมกับอาจารย์  เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์บรรยายเพราะในการบรรยายในชั้นเรียนทุกครั้งเป็นแนวข้อสอบในการสอบ  วันที่  28  ตุลาคม  2557

       ประเมินอาจารย์
              วันนี้อาจารย์สอนสนุกมาก  สอนเข้าใจมาก  อาจารย์เอาวีดีโอ  กิจกรรมบำบัดในเด็กสมาธิสั้นและวีดีโอศูนย์การศึกษาพิเศษ  มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม  มาให้นักศึกษาดู  เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจเข้าถึงพฤติกรรมของเด็กมากขึ้น

          

บันทึกอนุทินสัปดาห์ที่ 9

บันทึกอนุทินครั้งที่  9
วันที่ 14  ตุลาคม  2557
 เวลาเรียน  13: 10 - 16 : 40 น.

ความรู้ที่ได้รับ



ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน
         1.ผู้สอนใช้  Power  Point  ในการบรรยายและอธิบายเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น
         2.ผู้สอนนำคลิปวีดีโอมาให้นักศึกษาชมเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น
         3.ผู้สอนนำประสบการณ์จริงมาเล่าประกอบการบรรยายและอธิบายให้นักศึกษาฟัง
         4.ผู้สอนให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการแสดงตัวอย่างหน้าชั้นเรียน (เด็กออทิสติก)

การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสอน
         1.โปรแจคเตอร์
         2.ไมโคโฟน
         3.คอมพิวเตอร์  PC
         4.Power  Point
         5.วีดีโอ  (เด็กออทิสติก)

การประเมินในชั้นเรียน

       ประเมินตัวเอง
                  วันนี้เป็นการเรียนต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว  เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ (ต่อ)  วันนี้เรียนเรื่อง  เด็ก LD  เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้  เด็กออทิสติก  ก็มีหลับบ้างเล็กน้อย  แต่ก็ตั้งใจฟังอาจารย์สอนเป็นอย่างดี

       ประเมินเพื่อน

               วันนี้เพื่อนๆบางคนก็มีนอนหลับบ้างเล็กน้อย  แต่มีเพื่อนบางคนคุยแทรกอาจารย์มากเกินไป  ไม่ฟังอาจารย์บรรยาย  แต่บางคนก็มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเป็นอย่างดี 

       ประเมินอาจารย์
              วันนี้อาจารย์สอนเข้าใจเหมือนทุกๆวัน  อาจารย์บรรยายและอธิบายเข้าใจมาก  และมีการเล่าเหตุการณ์และประสบการณ์จริงที่อาจารย์พบเจอมา  และอาจารย์แสดงตัวอย่างประกอบการอธิบายเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น  อาจารย์ยังนำวีดีโอมาเปิดให้นักศึกษาชมเพื่อให้เข้าใจมากขึ้นและเห็นภาพชัดมากขึ้น