บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2557
เวลาเรียน 13: 10 - 16 :
40 น.
ความรู้ที่ได้รับ
ความรู้ที่ได้รับจากการชมวีดีโอ โครงการอาชาบำบัดเพื่อเด็กออทิสติก
โครงการอาชาบำบัดเพื่อเด็กออทิสติก
กองพันลาดตระเวน หน่วยบัญชาการทหารนาวิกโยธิน กองทับเรือ
โครงการอาชาบำบัดเพื่อเด็กออทิสติก อาชาบำบัดก็คือนำม้ามาช่วยบำบัดเด็กพิเศษ เด็กพิเศษจริงๆมีอยู่หลายประเภท โดยโครงการนี้ทำเพื่อเด็กออทิสติกโดยเฉพะ การนำม้ามาบำบัดเด็กเหล่านี้จะช่วยพัฒนาเรื่องของกล้ามเนื้อร่างกาย การเคลื่อนไหว
พัฒนาทางด้านจิตใจ
และอารมณ์ของเด็กด้วย
และก็ทำให้สามารถอยู่ในสังคมได้ดีขึ้น
เด็กๆที่กำลังใจจดจ่อการทรงตัวอยู่บนหลังม้าคอยปฏิบัติตามคำสั่งของครูฝึก ให้รู้จักการบังคับม้าอย่างง่ายๆ และแสดงความรักความผูกพันกับม้า เป็นภาพที่ผู้ปกครองเห็นแล้วก็มีความสุข เพราะเด็กเหล่านี้เป็นเด็กออทิสติก ที่โดยปกติแล้วจะไม่สามารถควบคุมสภาวะทางอารมณ์ และมีสมาธิจดจ่ออยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้เช่นนี้
ชมรมภริยานาวิกโยธิน ริเริ่มแนวคิดโครงการอาชาบำบัดเพื่อเด็กออทิสติกขึ้นเมื่อปี 2553 ภายในกองพันลาดตระเวน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน กองทับเรือ
โดย นาวาโทเริงราช อุทธิเสน
และนาวาตรีหญิงสุทธิญา
อุทธิเสน
เป็นผู้รับผิดชอบโครงการอย่างเข้มแข็ง
จากหัวอกของคนเป็นพ่อและแม่ของลูกสาวที่เป็นเด็กออทิสติกด้วย
ขั้นตอนขั้นแรกก็คือการรู้จักม้า ไปสัมผัสม้า
เพราะว่าเด็กหลายคนไม่สามารถขึ้นม้าได้
แค่เขาจับขนม้าเขาก็ขนลุกแล้ว
เขาก็กลัวแล้ว
ขั้นต่อไปก็คือการเอามาเอ็กเซอร์ไซร์ก่อน ก่อนที่จะขึ้นม้า ต่อไปก็เป็นการจูงม้า พอจูงม้าเสร็จก็ขึ้นหลังม้า หลังจากนั้นก็ทำตามคำสั่งของครู
สำหรับเด็กออทิสติกมีความจำเป็นอย่างยิ่งเลย ต้องเข้าใจเขา
อย่าไปดุ อย่าไปว่าเขา ต้องใช้การนุ่มนวนในการเลี้ยงลูก
การบำบัดด้วยม้าไม่ได้ทำให้หายจากเป็นออทิสติก แต่เป็นการช่วยปรับสภาพร่างกายที่ผิดปกติ ให้สมดุล
ลดความก้าวร้าว
และมีความเชื่อมั่นในตนเอง
มีพัฒนาการทั้งร่างกายและจิตใจดีขึ้น
เพื่อให้ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ ซึ่งไม่เพียงแต่จะสร้างความสุขให้แก่ครอบครัวที่มีบุตรหลานเป็นเด็กออทิสติกเท่านั้น
แต่บันดาทหารนาวิกโยธินที่ผ่านการอบรมอย่างเข้มข้นเพื่อร่วมเป็นครูฝึกในโครงการนี้
ยังภูมิใจในการปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือสังคมอีกด้วย
ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน
1.ผู้สอนใช้เทคนิคในการปราบให้นักศึกษาฟังอาจารย์ โดยเมื่อมีคนพูดต้องมีคนฟัง เมื่อนักศึกษาพูดกันอาจารย์ก็จะทำการหยุดบรรยายให้ความรู้ เมื่อนักศึกษาเงียบตั้งใจฟังอาจารย์บรรยาย อาจารย์ก็จะให้ความรู้ต่อไป
2.ผู้สอนให้ความรู้เพิ่มเติมจากเนื้อหา โดยให้ความรู้เพิ่มเติมจากประสบการณ์จริงของผู้สอน
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสอน
1.โปรแจคเตอร์
2.ไมโคโฟน
3.คอมพิวเตอร์
PC
4.Microsoft Powerpoint (การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ)
การประเมินในชั้นเรียน
ประเมินตัวเอง
วันนี้เรียนการส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
ตั้งใจเรียนตั้งใจจดการให้ความรู้เพิ่มเติมของอาจารย์เป็นอย่างดี และชมวีดีโออาชาบำบัดเพื่อการพัฒนาเด็กออทิสติก เป็นวีดีโอที่ผมเคยดูแล้ว ผมดูจากข่าวช่อง 3 ถือว่าเป็นโครงการที่ดีมากโครงการหนึ่งที่ช่วยพัฒนาให้เด็กออทิสติกให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างคนปกติ
วันนี้เพื่อนฟังอาจารย์บรรยายในการสอนเป็นอย่างดี ก็มีเพื่อนอยู่ส่วนน้อยที่นอนในห้องเรียน แต่เห็นเพื่อนตั้งใจดูวีดีโอ
โครงการอาชาบำบัดเพื่อเด็กออทิสติกเป็นอย่างมาก แต่ก็มีเพื่อนคุยกัน และเล่นแต่โทรศัพท์ไม่ตั้งใจฟังอาจารย์ในเวลาที่อาจารย์ให้ความรู้
ถือว่าเป็นนิสัยที่ไม่ดีไม่ควรทำเป็นเยี่ยงอย่างครับ
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์สอนสนุกมาก มีความสุขสุดๆ
และยังได้หัวเราะด้วย วันนี้อาจารย์ถ่ายทอดความรู้และให้ความรู้นอกเหนือจากบทเรียนโดยถ่ายทอดจากประสบการณ์จริง เป็นความรู้อันล้ำค่า และผมชอบวีดีโอ โครงการอาชาบำบัดเพื่อเด็กออทิสติก
ที่อาจารย์เอามาให้ชมนั้นก็ยังได้รับความรู้เพิ่มเติมอีก
ว่าวิธีการบำบัดด้วยม้านั้นเขาใช้วิธีอย่างไร เป็นโครงการที่ดีมากเลยที่เดียว ชอบมากเลยครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น